สแตนเลสมีกี่ประเภท แต่ละประเภทเหมาะกับใช้งานทำอะไร
- Pailin Laser Metal Team
- 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา
- ยาว 2 นาที

สแตนเลส หรือ โลหะสีเงินเงาวาวที่ทนทานต่อสนิม ไม่เป็นรอยง่าย และมีอายุการใช้งานยาวนาน จึงไม่แปลกที่สแตนเลสจะกลายเป็นวัสดุยอดนิยมที่ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมยานยนต์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมก่อสร้าง
หลายคนอาจไม่ทราบว่าสแตนเลสไม่ได้มีแค่ประเภทเดียว และแต่ละประเภทก็ถูกออกแบบมาให้ใช้งานที่แตกต่างกัน หากเลือกใช้สแตนเลสผิดประเภทอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพ ความปลอดภัยการใช้งานในระยะยาว บทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับประเภทของสแตนเลส พร้อมบอกให้เข้าใจว่าแต่ละแบบเหมาะกับงานประเภทไหนบ้าง เพื่อที่จะเลือกใช้สแตนเลสได้อย่างถูกต้อง
ประเภทของสแตนเลส
สแตนเลสเป็นโลหะที่มีโครเมียมเป็นผสมอย่างน้อย 11% และนิกเกิล 10-14% ซึ่งทำให้เกิดชั้นฟิล์มป้องกันการกัดกร่อนตามธรรมชาติ เรียกว่า passive film ที่ทำให้สแตนเลสมีคุณสมบัติป้องกันสนิมได้ดี อย่างไรก็ตาม สแตนเลสสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ตามโครงสร้างโลหะและคุณสมบัติการใช้งาน
1. สแตนเลสออสเทนนิติก Austenitic (เกรด 304, 316)
สแตนเลสประเภทออสเทนนิติกสามารถพบเห็นได้บ่อยสามารถใช้งานได้หลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเกรด 304 และ 316 ที่มักจะเห็นอยู่บ่อย ๆ เพราะมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง ไม่เป็นแม่เหล็ก และมีความสามารถในการขึ้นรูปเชื่อมตัดได้ดี
คุณสมบัติของสแตนเลสออสเทนนิติก
มีส่วนผสมของโครเมียม ประมาณ 18–20% และ นิกเกิล ประมาณ 8–10.5%
ไม่มีความเป็นแม่เหล็ก
ทนการกัดกร่อนได้ดี ทนต่อสภาพแวดล้อมมีความชื้นได้
สามารถใช้งานได้ทั้งในอุณหภูมิที่ร้อนและเย็น
นำไปแปรรูปได้ง่าย เชื่อม ดัด ตัด ได้
มีอายุการใช้งานยาวนาน
เกรดสแตนเลสออสเทนนิติก 304 และ 316
สแตนเลส 304 เป็นสแตนเลสมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะราคาถูก แข็งแรง น้ำหนักเบา ทนทานต่อสนิมได้ดี เหมาะกับใช้งานทั่วไป
สแตนเลส 316 เป็นสแตนเลสที่มีมาตรฐานเหมือนกับ 304 แต่จะเพิ่มโมลิบดีนัม Mo เพื่อเพิ่มความทนทานต่อสารเคมีและเกลือ เหมาะกับใช้งานในอุตสาหกรรมเคมี การผลิตยา
เหมาะกับใช้งานด้านไหนบ้าง
อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม: เช่น ถังบรรจุน้ำ ถังนม เครื่องครัว เครื่องชงกาแฟ เนื่องจากสะอาด ทนทานต่อกรดได้ดี และไม่เกิดสนิม
เครื่องมือแพทย์: เช่น เครื่องมือผ่าตัด อุปกรณ์ห้องแล็บ เพราะไม่เป็นสนิม และทนทานต่อน้ำยาฆ่าเชื้อ
งานตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร: เช่น ราวบันได มือจับประตู แผ่นตกแต่งผนัง เพราะผิวนอกมีความเงาสวยงามและดูแลรักษาง่าย
อุตสาหกรรมเคมี และยา: โดยเฉพาะที่ต้องการความสะอาด ปลอดเชื้อ และทนทานต่อการกัดกร่อน
2. สแตนเลสเฟอริติก Ferritic
เป็นกลุ่มสแตนเลสที่มีโครเมียมผสมอยู่ประมาณ 10.5% ถึง 30% และมีคาร์บอนในปริมาณต่ำ ทำให้มีความแข็งแกร่งสูงกว่าออสเทนนิติกมีโครงสร้างจุลภาคแบบ Body-Centered Cubic (BCC) ซึ่งทำให้สแตนเลสประเภทนี้มีคุณสมบัติดึงดูดได้เหมือนแม่เหล็ก
คุณสมบัติหลักของสแตนเลสเฟอริติก Ferritic
มีส่วนผสมของโครเมียมประมาณ 10.5% ถึง 30%
มัคุณสมบัติดึงดูดเหมือนแม่เหล็ก
ทนความร้อนได้ดี โดยเฉพาะในการใช้งานที่อุณหภูมิสูงต่อเนื่อง
ทนต่อการกัดกร่อน
สามารถขึ้นรูปและเชื่อมได้ แต่อาจไม่ดีเท่าสแตนเลสออสเทนนิติก
เกรดสแตนเลสเฟอริติก Ferritic
สแตนเลส 430 เกรดที่พบมากที่สุดในกลุ่มเฟอริติก ใช้กันแพร่หลายในงานตกแต่งภายใน งานเครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วนที่ไม่สัมผัสกับกรดหรือสารเคมีแรง
เหมาะกับใช้งานด้านไหนบ้าง
เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น ตู้เย็น ไมโครเวฟ เตาอบ หรือฝาครอบต่าง ที่ต้องการความทนความร้อน แต่ไม่โดนความชื้นโดยตรง
ชิ้นส่วนตกแต่งภายในบ้าน เช่น มือจับประตู ราวบันได
ผลิตท่อไอเสียรถยนต์
3. สแตนเลสดูเพล็กซ์ Duplex
สแตนเลสดูเพล็กซ์คือสแตนเลสชนิดพิเศษที่นำโครงสร้างประเภทออสเทนนิติกและเฟอริติกเข้าไว้ด้วยกันในระดับ 50:50 จุดเด่นของสแตนเลสดูเพล็กซ์คือการมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าสแตนเลสทั่วไปในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านความแข็งแรงและความทนทานต่อการกัดกร่อน สารเคมีเข้มข้น
คุณสมบัติสแตนเลสดูเพล็กซ์
แข็งแรงกว่าสแตนเลสออสเทนนิติกถึงสองเท่า
ทนต่อการกัดกร่อนจากคลอไรด์ได้ดีกว่าเกรด 304 และ 316
มีความทนทานต่อการแตกร้าวจากการกัดกร่อนสูง
มีความเป็นแม่เหล็กอยู่บ้าง
อายุการใช้งานยาวนาน
เกรดสแตนเลสดูเพล็กซ์
2205 (UNS S32205 / S31803) เกรดมาตรฐานที่ใช้งานแพร่หลายมากที่สุด
2507 (Super Duplex) เกรดที่มีคุณสมบัติขั้นสูง ทนสารเคมีและแรงดันได้ดีมาก
เหมาะกับใช้งานด้านไหนบ้าง
อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ เช่น แท่นขุดเจาะน้ำมัน โครงสร้างในทะเล ท่อส่งน้ำมัน
อุตสาหกรรมเคมี ใช้ทำถังบรรจุสารเคมี ท่อส่งสารกัดกร่อน
งานโครงสร้างทางทะเล เช่น ท่าเรือ, สะพาน
4. สแตนเลสประเภทมาร์เทนซิติก Martensitic
เป็นสแตนเลสประเภทที่เน้นความแข็งแรงเป็นพิเศษ และสามารถนำไปใช้กระบวนการ ชุบแข็ง เพื่อเพิ่มความทนทานต่อแรงกระแทกและการสึกหรอได้ดี
คุณสมบัติหสแตนเลสมาร์เทนซิติก
มีปริมาณ โครเมียม ประมาณ 11.5–18% และมี คาร์บอนสูงกว่าประเภทอื่น
โครงสร้างโลหะเป็นแบบ มาร์เทนซิติก ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติผ่านการชุบแข็ง
มีความแข็งแรงทางสูงมาก ทนแรงกระแทกและการสึกหรอได้ดี
มีความเป็นเป็นแม่เหล็ก และจะเปราะบางหากไม่ได้ผ่านการชุบแข็งอย่างเหมาะสม
มีความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนปานกลาง ไม่เหมาะกับงานที่เจอกับสารเคมีหรือความชื้นตลอดเวลา
เกรดสแตนเลสประเภทมาร์เทนซิติก
เกรด 410: เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง และทนต่อการสึกหรอในระดับหนึ่ง
เกรด 420: ใช้ทำมีด เครื่องมือผ่าตัด หรือกรรไกร
เกรด 440C: มีความแข็งแรงมาก เหมาะกับการเป็นวัสดุทำมีด แม่พิมพ์ หรือชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงเฉือน
เหมาะกับใช้งานด้านไหน
เครื่องมือตัดและอุปกรณ์มีคม เช่น มีดทำครัว มีดผ่าตัด กรรไกร
ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล เช่น เพลา เฟือง ลูกปืน ที่ต้องทนแรงเสียดสีหรือแรงกระแทก
ชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่ต้องการความแข็งแรง ไม่เสียรูปง่าย
แม่พิมพ์ชิ้นส่วนอุตสาหกรรม
5. สแตนเลสประเภท PH Precipitation Hardening
สแตนเลสที่ออกแบบมาให้มี ความแข็งแรงสูง ร่วมกับ ความทนทานต่อการกัดกร่อน โดยผ่านกระบวนการอบชุบภายในเนื้อโลหะ เพิ่มความแข็งแรงโดยที่ไม่ทำให้เกิดความเปราะบาง
คุณสมบัติสแตนเลสประเภท PH
แข็งแรงมากกว่าสแตนเลสทั่วไปถึง 2–3 เท่า
ทนการกัดกร่อนดี
ไม่เป็นแม่เหล็ก
เหมาะกับเป็นชิ้นส่วนที่มีความละเอียดสูง
เกรดสแตนเลสประเภท PH
17-4 PH (UNS S17400) เป็นเกรดที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากมีความแข็งแรงสูง ทนทานต่อสนิมได้ดี ขึ้นรูปง่าย
15-5 PH มีความแข็งแรงและความเหนียวที่ดีกว่าเกรด 17-4 P
13-8 Mo ใช้สำหรับงานที่ต้องการความแข็งและความเหนียวสูงในเวลาเดียวกัน เช่น อุตสาหกรรมการบินและเครื่องมือแพทย์
เหมาะกับใช้งานอะไรบ้าง
อุตสาหกรรมการบิน ใช้ทำชิ้นส่วนโครงสร้าง, อุปกรณ์ที่รับแรงดึงหรือแรงอัดสูง
อุตสาหกรรมพลังงาน เช่น กังหันก๊าซ วาล์วความดันสูง อุปกรณ์ในโรงไฟฟ้า
อุตสาหกรรมการแพทย์ ใช้ทำเครื่องมือแพทย์ที่ต้องอาศัยความแม่นยำสูง
แม่พิมพ์ที่มีความละเอียดสูง ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนที่ต้องการขนาดคงที่
การเลือกใช้สแตนเลสควรเลือกให้เหมาะสมกับชิ้นงาน ซึ่งจะช่วยให้ชิ้นงานมีความทนทานและปลอดภัย ไม่เพียงเท่านี้และยังช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงได้เป็นอย่างดี
Comments